เยียวยา “ประกันสังคมมาตรา 33” พิษไวรัสโควิด-19
- piennon
- Aug 31, 2020
- 1 min read
ผู้ประกันตน มาตรา 33 มีเฮ ได้รับการเยียวยา 1.5 หมื่นบาท โดยล่าสุดวันนี้ การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุม ครม. อนุมัติการจ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือลูกจ้างสถานประกอบการ เมือตกงานจากผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 และยังจ่ายเงินสมทบกองทุนประกันสังคมไม่ครบ 6 เดือน โดยสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการจ่ายเงินเยียวยา 5,000 บาท ให้ผู้มีสิทธิ์จำนวน 59,776 คน เป็นเวลา 3 เดือน ระหว่างเดือนมิถุนายน-สิงหาคม 2563 รวม 15,000 บาท โดยจะรวบจ่ายเพียงครั้งเดียว แต่ยังไม่ได้ระบุวันเวลาการจ่ายเงินที่ชัดเจน สำหรับงบประมาณในการดำเนินโครงการนี้จะอยู่ที่ 896.64 ล้านบาท
“ประกันสังคมมาตรา 33” จำนวน 11.3 ล้านคน มาตรา 33 คือ ลูกจ้างที่ทำงานในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป มีอายุตั้งแต่ 15 ปีบริบูรณ์และอายุไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ มีผู้ประกันตนในระบบจำนวนมากที่สุด 11,295,514 คน ผู้ประกันตนมาตรา 33 จะได้รับความคุ้มครองใน 7 กรณี ดังนี้ เจ็บป่วย เสียชีวิต ว่างงาน คลอดบุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ และสงเคราะห์บุตร แล้วยังได้ตรวจสุขภาพประจำปีฟรี
ขั้นตอนการส่งเงิน เยี่ยวยาผู้ประกันตน กระทรวงแรงงานนำเสนอให้เงินเยียวยา 5,000 บาท แก่ผู้ประกันตนกลุ่มประกันสังคมมาตรา 33 ทีตกงานนี้เป็นเวลา 3 เดือน หรือรวมแล้ว 15,000 บาทต่อคน คิดเป็นการใช้งบประมาณราว 900 ล้านบาท ซึ่งงบประมาณส่วนนี้จะนำมาจาก พ.ร.ก.กู้เงิน 1 ล้านล้านบาท ในส่วนของแผนงานด้านสาธารณสุขและแผนงานเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ เมื่อที่ประชุม ครม. เห็นชอบตามที่เสนอ กระทรวงแรงงานเสนอแล้ว ก็ส่งเรื่องให้สำนักงานบริหารนี้สาธารณะ (สบน.) กู้เงิน จากนั้นเสนอเรื่องให้สำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติกรอบวงเงิน และรอให้กรมบัญชีกลางโอนเงินให้ผู้ประกันตนที่ได้รับสิทธิ์
ติดต่อประกันสังคมผ่าน 3 ช่องทาง ผู้เข้าเกณฑ์ได้รับเงินเยียวยา 15,000 บาท หรือ ประกันสังคมมาตรา 33 ข้างต้น คือผู้ตกงาน ถูกเลิกจ้าง และไม่ได้รับเงินทดแทนจากกองทุนประกันสังคมกรณีว่างงาน เนื่องจากยังจ่ายเงินสมทบไม่ครบ 6 เดือน สำหรับผู้ประกันตนที่ต้องตามติดตามความคืบหน้าของเงินเยียวยา หรือเงินชดเชย จากประกันสังคม ที่จะสามารถตรวจสอบได้ว่า เงินชดเชยที่ผู้ประกันตนมีสิทธิได้รับ อยู่ในกระบวนการใดแล้วบ้าง สามารถทำได้ด้วยตัวเองผ่าน 3 ช่องทางหลักๆ ที่เปิดให้บริการ ดังนี้
เว็บไซต์ "www.sso.go.th" 1. เข้าสู่ระบบด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประชาชน กรอกรหัสผ่าน ลงในช่องว่างบนหน้าเว็บไซต์ 2. เลือกหัวข้อ "ตรวจสอบคำจขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย" 3. ระบบจะแจ้งยอดเงินและวันที่อนุมัติสิทธิ
แอพพลิเคชั่น "SSO Connect mobile" 1. ดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่น "SSO Connect mobile" จาก App Store หรือ Play Store 2. เปิดแอพพลิเคชั่น จากนั้นเข้าสู่ระบบ ด้วยการกรอกหมายเลขบัตรประชาชน และกรอกรหัสผ่าน 3. เลือกหัวข้อ "การเบิกสิทธิประโยชน์" 4. ระบบจะแจ้งรายละเอียดจำนวนเงิน วันที่จ่ายเงิน และช่องทางการเบิกสิทธิประโยชน์ ตามข้อมูลของแต่ละราย
ติดต่อโดยตรงที่สำนักงานประกันสังคม - สำนักงานประกันสังคม ในเขตพื้นที่ใกล้บ้าน หรือ ทุกพื้นที่ในวันและเวลาราชการ จันทร์-ศุกร์ 08.30-16.30 น. - สายด่วนประกันสังคม 1506 ให้บริการทุกวันทุกเวลา สามารถโทรตรวจสอบสิทธิประกันสังคม หรือสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ประกันสังคม รวมทั้งสิทธิประโยชน์กองทุนเงินทดแทน สามารถโทรได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประกันสังคมมีเจ้าหน้าที่พร้อมให้บริการ - เฟซบุ๊ค สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน - สำนักงานประกันสังคม สำนักงานใหญ่ เลขที่ 88/28 หมู่ 4 ถนนติวานนท์ ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี รหัสไปรษณีย์ 11000
จ่ายสมทบเยี่ยวยา กรณี เงินเดือนไม่ถึง 8,100 บาท สำหรับผู้ประกันตนที่มีเงินเดือนไม่ถึง 8,100 บาท ส่งผลให้ได้รับเงินชดเชยจากประกันสังคมไม่ถึง 5,000 บาทต่อเดือน ซึ่งกระทรวงแรงงานเสนอให้รัฐบาลเติมเงินชดเชยให้ครบเดือนละ 5,000 บาท เป็นเวลา 3 เดือน เท่ากับโครงการเราไม่ทิ้งกันนั้น คณะกรรมการกลั่นกรองโครงการใช้เงินกู้ฯ ยังไม่ได้อนุมัติวงเงินส่วนนี้ และขอให้กระทรวงแรงงานกลับไปจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม ก่อนนำกลับมาเสนออีกครั้ง
จ่ายเยียวยาแบบเหมาจ่าย ยังไม่ได้รับการพิจารณา เนื่องจากกระทรวงแรงงานเสนอให้จ่ายเยียวยาแบบเหมาไปเลย คนละ 3,000 บาทต่อเดือน ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองโครงการใช้เงินกู้ฯ ไม่สามารถดำเนินการได้ เพราะแต่ละกรณีผู้ประกันตนได้รับสิทธิ์ไม่เท่ากัน ก็จะเกิดปัญหาตามมาได้ จึงมอบหมายให้กระทรวงแรงงานต้องแจกแจงว่า ผู้ประกันตนในระบบ ประกันสังคม แต่ละรายได้รับชดเชยไปแล้วเท่าไหร่และต้องเติมเงินอีกเท่าไหร่ จึงจะครบ 5,000 บาทต่อเดือน เช่น บางรายได้รับเงินชดเชย 3,800 บาทต่อเดือน ภาครัฐก็จ่ายเพิ่มอีก 1,200 บาท เพื่อให้ครบ 5,000 บาท
Cr.The Thaiger,THE BANGKOK INSIGHT,เครื่องวัดความดัน,กรุงเทพธุรกิจ,Money Buffalo
留言