top of page
Search

เครื่องอ่านบาร์โค้ด ร้านสะดวกซื้อ

  • Writer: piennon
    piennon
  • Dec 1, 2016
  • 1 min read

เครื่องอ่านบาร์โค้ด ร้านสะดวกซื้อ

ใครยังไม่เคยซื้อสินค้าจากห้าง หรือร้านสะดวกซื้อ กันบ้าง? เชื่อว่าอัตราส่วนของคำตอบดังกล่าวคงอยู่ที่ 0.00001% เพราะนอกจากความศิวิไลซ์ที่กระจุกตัวอยู่ในเมืองใหญ่ ปัจจุบัน ร้านค้าน้อย-ใหญ่ ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ ในรูปแบบซื้อสะดวกและทันสมัยก็ได้ขยายตัวไปทั่วทุกแห่งหนของประเทศแล้ว ชีวิตประจำวันแต่ละคนจะต้องวนเวียนอยู่กับร้านสะดวกซื้อ ที่ใช้เทคโนโลยีใกล้ตัวอย่าง "บาร์โค้ด (Barcode)" แบบไม่รู้ตัว ทุกครั้งที่คุณซื้อสินค้าก็จะมีพนักงานขายใช้ เครื่องอ่านบาร์โค้ด(Barcode Scanner) อ่านรหัสบนตัวสินค้าในสต๊อกสินค้า ไม่เพียงแค่ร้านค้าต่าง ๆ หรือ ห้ามสรรพสินค้าที่ใช้ระบบบาร์โค้ด เร็ว ๆ นี้อาจได้เห็นการใช้ระบบบาร์โค้ด (Barcode)ในโรงพยาบาลมากขึ้นกว่าแต่เดิม บาร์โค้ด (Barcode) & โรงพยาบาล รัฐบาลอินโดนีเซีย ร่วมกับกลุ่มบริษัท Australian PNORS Technology Group บริษัทเทคโนโลยีจากออสเตรเลียผู้เชียวชาญ เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) เทคโนโลยีใกล้ตัว ที่ใช้กันในซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า และ ร้านสะดวกซื้อ เตรียมเปลี่ยนระบบการบันทึกสต๊อก การจัดซื้อและจัดหายาเชื่อมโรงพยาบาลและศูนย์อนามัยทั่วประเทศเป็นระบบดิจิตอลด้วยบาร์โค้ด (Barcode) เพื่อสร้างระบบดิจิตอลเชื่อมห่วงโซ่อุปทานสต๊อกสินค้าของผู้จัดจำหน่ายและการจัดหายาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ของโรงพยาบาลและสถานีอนามัยของอินโดนีเซียเป็นระบบเดียวกัน เพื่อลดสต๊อกสินค้า ประหยัดต้นทุนยา แก้ปัญหายาขาด ยาหมดอายุและยาปลอม เผยมีเป้าหมายเชื่อมบาร์โค้ด (Barcode)ทั้งประเทศภายใน 9 ปี รายงานจากหนังสือพิมพ์ เดอะจาการ์ตาโพสต์ สถานีอนามัยอินโดนีเซีย & บาร์โค้ด (Barcode) ซีอีโอ ของบริษัท Australian PNORS Technology Group ให้สัมภาษณ์ถึงโครงการบาร์โค้ด (Barcode)ที่จะจัดทำขึ้นภายใต้สัญญาเอ็มโอยูฉบับนี้ จะรวมถึงการทำระบบบาร์โค้ดที่เป็นสากลที่ใช้กันในซุปเปอร์มาร์เก็ต ห้างสรรพสินค้า และ ร้านสะดวกซื้อ นำมาพัฒนาสำหรับผลิตภัณฑ์ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ การสร้างระบบการจัดซื้อจัดหาและสต๊อกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สำหรับโรงพยาบาลและสถานีอนามัยนำร่อง การทำให้ห่วงโซอุปทานยาเป็นบาร์โค้ด (Barcode) อ่านข้อมูลผ่าน เครื่องอ่านบาร์โค้ด(Barcode Scanner) บนเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์จะช่วยแก้ ปัญหายาขาดสต๊อก ยาหมดอายุและยาปลอม ที่เป็นปัญหาสำหรับโรงพยาบาลและสถานีอนามัยในอินโดนีเซียก่อนหน้านี้ บาร์โค้ด (Barcode) & ประวัติ ความเป็นมา แล้วคุณรู้จักประวัติ ความเป็นมาของเจ้าเทคโนโลยี เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner) นี้แค่ไหน เราจะพาไปหาคำตอบ… หนึ่งในเทคโนโลยี ใกล้ตัวที่เราได้พบเห็นและเรียกว่าผูกพันอยู่กับวิถีการจับจ่ายของเรา แต่อาจไม่เคยรู้ที่มาที่ไปก็คือ "บาร์โค้ด" (Barcode) ซึ่งเราได้รวบรวมเรื่องน่ารู้และความเป็นมาของบาร์โค้ดมาฝากกัน! ต้นแบบเทคโนโลยี บาร์โค้ด (Barcode) มาจากแนวคิดของ Wallace Flint นักศึกษามหาวิทยาลัย Harvard ในปี 1932 ซึ่งใช้บัตรเจาะรูเป็นตัวกำหนดรหัสสินค้าแล้วนำไปตอกในเครื่องอ่าน ต่อมา Bernard Silver นักศึกษาของสถาบันเทคโนโลยี Drexel ได้นำมาพัฒนาต่อ โดยใช้หมึกเรืองแสงและการฉายแสง UV แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากไม่เสถียรในการใช้งานและต้นทุนสูง บาร์โค้ด (Barcode) แบบแรกของโลก Joseph Woodland ได้ช่วยเหลือ Bernard Silver จนทำให้ทั้ง 2 คน สามารถจดสิทธิบัตรการออกแบบบาร์โค้ด (Barcode) เป็นครั้งแรก ในวันที่ 7 ต.ค.1952 โดยมีรูปแบบในขั้นแรกเป็นวงกลมคล้ายแผ่นปาเป้า ซึ่งถูกนำไปทดลองใช้งานเป็นครั้งแรกที่ร้านค้าเครือ Kroger ในรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา ปี 1967 เครื่องอ่านบาร์โค้ด เครื่องแรกของโลก ในเดือนมิ.ย. 1974 เครื่องสแกนบาร์โค้ด ก็ถูกพัฒนาขึ้นสำเร็จ ทั้งยังมีการปรับปรุงให้ บาร์โค้ด (Barcode)กลายเป็นลักษณะแบบแท่งบาร์โค้ด (Barcode)และมีตัวเลขเช่นเดียวกับในปัจจุบัน เพียง 26 วัน หลังจากเครื่องสแกนบาร์โค้ดหรือบางที่เรียกว่า เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Reader) ถูกพัฒนาขึ้น ก็มีการนำไปใช้งานจริงเป็นครั้งแรกในซุปเปอร์มาร์เก็ตทันที โดยสินค้าแรกที่ถูกสแกน คือ หมากฝรั่ง Wringley รหัสแท่งหรือบาร์โค้ด "รหัสแท่ง" คือ ชื่อเรียกภาษาไทยของบาร์โค้ด การทำงานของบาร์โค้ดใช้รูปแบบของแถบสีดำและขาวที่มีความกว้าง-ถี่ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับตัวเลขที่กำกับอยู่ด้านล่าง การอ่านข้อมูลจะอาศัยหลักการสะท้อนแสงของเครื่องสแกน เพื่อนอ่านข้อมูลสู่คอมพิวเตอร์ ความสะดวก รวดเร็ว และน่าเชื่อถือ รวมถึงโอกาสผิดพลาดเพียง 1 ใน 10,000,000 ทำให้ระบบบาร์โค้ดได้รับความนิยมไปทั่วโลก ประเทศไทยมี เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner)ใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2530 โดยสภาอุตสาหกกรมแห่งประเทศไทยเป็นผู้รับผิดชอบสิทธิ์นายทะเบียนรับสมัครสมาชิกจดทะเบียนบาร์โค้ด ซึ่งทำให้ระบบดังกล่าวได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในทันที QR Code บาร์โค้ด 2 มิติ จากการใช้งานเพื่อสแกนสินค้าในยุคแรกได้ใช้ ปัจจุบันบาร์โค้ดถูกใช้งานอย่างแพร่หลายและถูกนำไปใช้ในหลากลายช่องทาง อาทิ เกม การแอดเพื่อนบนโซเชียล หรือการดูรายละเอียดเพิ่มเติมของสต๊อกสินค้าในห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาร์เก็ต และร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ เนื่องจากข้อจำกัดของบาร์โค้ดแบบรหัสแท่ง ซึ่งเก็บค่าตัวเลขหรือตัวอักษรได้ค่อนข้างจำกัด จึงมีการพัฒนา บาร์โค้ด 2 มิติ ตามยุคสมัยที่มีความเจริญมากขึ้นเพื่อรองรับกับปริมาณข้อมูลที่เพิ่มมากขึ้น QR code เป็นหนึ่งในบาร์โค้ด 2 มิติที่นิยมใช้งานกันในปัจจุบัน โดยนำมาใช้เก็บข้อมูล URL ที่อยู่เว็บไซต์, ข้อความ, เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลตัวอักษรต่างๆ

เครื่องอ่านบาร์โค้ด (Barcode Scanner)

รีวิวการใช้งาน เครื่องอ่านบาร์โค้ด ชนิด CCD สแกนรวดเร็วแม่นยำ เพื่อความคมชัด ควรปรับคุณภาพวีดีโอเป็น 720P Hd ในการรับชม

Cr. ข่าว FHM,ประชาชาติธุรกิจ

 
 
 

ความคิดเห็น


บทความ ล่าสุด
Recent Posts 
Other Favotite PR Blogs
Serach By Tags
bottom of page